การศึกษาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
ปริญญานิพนธ์ของ : พิศเพลิน ภิรมย์ไกรภักดิ์
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
เพื่อศึกษาทำความเข้าใจและอธิบายการใช้ปัจจัยตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ในการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่มีผลต่อความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของการวิจัย
ผลจากการวิจัยในครั้งนี้เป็นแนวทางให้ครูปฐมวัยและผู้สนใจในแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์นำไปใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เป็นจริงของตน และเป็นแนวทางให้ผู้บริหารได้ศึกษาเพื่อใช้แนะนำ ส่งเสริมให้ครูปฐมวัยทำการวิจัย
ขอบเขตการวิจัย
1.ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี จำนวน 32 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นเด็กเล็ก ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2541 ของโรงเรียนสานฝัน สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
2.กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย – หญิง ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นเด็กเล็ก ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2541 จำนวน 10 คน ของโรงเรียนสานฝัน สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ใช้การเลือกห้องแบบเจาะจง และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย ด้วยการจับฉลากจากนักเรียนในห้องที่เลือก.งมี 19 คน
3.ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
ตัวแปรตาม คือ ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
4.เวลาที่ใช้ในการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2541 โดยทำการศึกษา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ4 วัน วันละ 30 นาที
5.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
5.1 แบบสังเกตการณ์ปฎิบัติการสอน
5.2 แบบประเมินความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์
สรุปผล
ปัจจัยตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ทั้ง 4ประการ คือ ปฏิสัมพันธ์ ประสบการณ์เดิมการกระทำ และการไตร่ตรอง เมื่อใช้ในการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์แบ่งการใช้เป็น 3 ระยะ ส่งผลให้เด็กกลุ่มตัวอย่างเกิดความเข้าใจในการจัดประเภท การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การวัด และการอนุรักษ์