วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

วิจัย

การศึกษาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์


ปริญญานิพนธ์ของ : พิศเพลิน ภิรมย์ไกรภักดิ์

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

เพื่อศึกษาทำความเข้าใจและอธิบายการใช้ปัจจัยตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ในการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่มีผลต่อความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ความสำคัญของการวิจัย

ผลจากการวิจัยในครั้งนี้เป็นแนวทางให้ครูปฐมวัยและผู้สนใจในแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์นำไปใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เป็นจริงของตน และเป็นแนวทางให้ผู้บริหารได้ศึกษาเพื่อใช้แนะนำ ส่งเสริมให้ครูปฐมวัยทำการวิจัย

ขอบเขตการวิจัย

1.ประชากร
                ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี จำนวน 32 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นเด็กเล็ก ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2541 ของโรงเรียนสานฝัน สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

2.กลุ่มตัวอย่าง
            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย หญิง ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นเด็กเล็ก ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2541 จำนวน 10 คน ของโรงเรียนสานฝัน สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ใช้การเลือกห้องแบบเจาะจง และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย ด้วยการจับฉลากจากนักเรียนในห้องที่เลือก.งมี 19 คน

3.ตัวแปรที่ศึกษา
                ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
                ตัวแปรตาม คือ ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

4.เวลาที่ใช้ในการวิจัย
                การศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2541 โดยทำการศึกษา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ4 วัน วันละ 30 นาที

5.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                5.1 แบบสังเกตการณ์ปฎิบัติการสอน
                5.2 แบบประเมินความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์

สรุปผล
                ปัจจัยตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ทั้ง 4ประการ คือ ปฏิสัมพันธ์ ประสบการณ์เดิมการกระทำ และการไตร่ตรอง เมื่อใช้ในการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์แบ่งการใช้เป็น 3 ระยะ ส่งผลให้เด็กกลุ่มตัวอย่างเกิดความเข้าใจในการจัดประเภท การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การวัด และการอนุรักษ์



วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 16

วัน อังคาร ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556

- อาจารย์นัดสอบนอกตาราง
- การจัดทำบล๊อค
- 2 มี.ค. 2556 กีฬาสีเอก
- 3 มี.ค. 2556 ปัจฉิม และ Byenior
- 6-8 มี.ค. 2556 ไปดูงานที่ประเทศลาว

อาจารย์ให้เขียนความรู้ที่ได้ ทักษะ วิธีการสอน จากวิชานี้

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15

วัน อังคาร ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556

เพื่อนสอบสอน หน่วย อวัยวะ

อวัยวะภายนอก

- อวัยวะภายนอกร่างกายมีอะไรบ้าง
- เด็กๆบอกครูซิอวัยวะอะไรบ้างที่มีแค่อันเดียว
- อวัยวะภายนอกมีทั้งหมดเท่าไหร่
- ลองเปรียบเทียบอวัยวะที่มี 1 อันและมากกว่า 1อัน
*ใช้ภาพแทนคำ
* ของที่ยังไม่ใช้ให้เก็บไว้ใต้โต๊ะ

ตา
หู
ปาก
จมูก
แขน
มือ
ขา
เท้า
2
2
1
1
2
2
2
2


ลักษณะ

* สิ่งรอบตัวของจริงสามารถใช้แทนรูปภาพได้เลย

ลักษณะ
รูปร่าง
สี
พื้นผิว
หู



ปาก



จมูก





ตารางสัมพันธ์ : ใช้โดยภาพแทนคำต่างๆ

ได้ทักษะ : การวิเคราะห์ และสังเกต

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14

วัน อังคาร ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556

อาจารย์พูดเรื่อง..
- การเข้าเรียน
- กิจกรรม " ความสามารถของการศึกษาปฐมวัย " หน้าที่ของแต่ละคน
- การร่วมกิจกรรม

เพื่อนสอบสอน เรื่อง " กระดุม "

ชนิดของกระดุม

- นำเข้าสุ่บทเรียน
- กระดุมที่เด็กๆรู้จักมีอะไรบ้าง
- เด็กอยากทราบมั้ยว่ากระดุมในกล่องมีกี่เม็ด (เป็นการคาดคะเนคำตอบ)
- การหยิบจับเม็ดกระดุมเพื่อความสะดวก ให้นำกระดุมใส่ซองยา

ลักษณะของกระดุม

ประโยชน์  

ให้แต่งนิทานเพื่อให้เด็กเข้าใจง่าย

สรุป : Mind Map มาตรฐานการเรียนรู้ คณิตศาสตร์






บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วัน อังคาร ที่ 29 มกราคม พ.ศ.2556

อาจารย์พูดเรื่องการจัดกิจกรรมกีฬาสีเอก

การเลือกโรงเรียนที่จะสังเกตการสอน

และ เรื่องกิจกรรมการแสดงความสามารถ พิเศษ ในวันพุธ ให้เตรียมการแสดง ดังนี้

รำ
ร้องเพลง
โฆษณา
พิธีกร
การแสดงโชว์
ผู้กำกับหน้าม้า
ร้องเพลงปฐมวัย
แพทตี้
รัตติยา
นิศาชล
ลูกหยี
จุฑามาศ-นีรชา
พวงทอง- นฎา
(48 คน)
(1คน)
(1คน)
ละไม
ซาร่า
เพิร์ส-ทราย
(2คน)



(2คน)
(2คน)
ลูกหยี-ชมพู่
ณัฐชา แตง ชวนชม
(9 คน)




มาตรฐานที่1 จำนวนและการดำเนินการ
: จำนวนคนในแต่ละการแสดง

มาตรฐานที่ 2 การวัด
: รู้เรื่องเวลา

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12

วัน อังคาร ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2556

# เนื่องจากเกิดอาการป่วยไปโรงพยาบาลจึงไม่ได้เข้าเรียน

สอบถามจากเพื่อน :

อาจารย์พูดถึงเรื่อง บล็อก  หางานวิจัยใส่ แล้วสรุปสั้นๆๆ หา2-3เรื่อง
- สอบสอน 3กลุ่ม  ข้อเสนอแนะ

ขนมไทย  
-เด็กอายุเท่าไร      
-สอนวันถัดไป ต้องเพิ่มขนมชนิดใหม่ให้เด็กได้รู้จักเพิ่มขึ้น
-ใช้อะไรเป็นเกณฑ์

ข้าว
-การพูด จังหวะคำ
-ลำดับเรื่อง หัวข้อ ในแต่ละวัน  สิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรก

กล้วย
-หากเรื่องเป็นเนื้อหา ให้ใช้นิทานเป็นตัวเล่าเรื่อง
-เน้นการปฏิบัติจริง
- อาจารย์ให้ดูผลงานของน้องๆ การทำสื่อฐานสิบ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11

วัน อังคาร ที่15 มกราคม พ.ศ.2556

ออกไปสอบสอน อาจารย์อธิบายข้อบกพร่องเล็กน้อย



หมายเหตุ : อาจารย์ติดประชุมเลยปล่อยก่อนเวลา

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10

วันที่ อังคาร ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

อาจารย์ให้ส่งแกนทิชชูดอกไม้
แล้วถามว่าแกนทิชชูนี้สามารถนำมาทำอะไร ? ได้บ้างในการสอนคณิตศาสตร์
-สื่อการสอน เช่น นำมานับจำนวน รูปทรง เป็นต้น
-สื่อที่เด็กเล่น

 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ(2551: 2 – 42) ได้ระบุสาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ไว้ดังนี้


สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน  ค 1.1     เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน  ค 1.2     เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่าง
       การดำเนินการต่าง ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา                     
มาตรฐาน  ค 1.3    ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.4    เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
สาระที่ 2  การวัด
มาตรฐาน  ค 2.1    เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
มาตรฐาน  ค 2.2    แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด

สาระที่ 3  เรขาคณิต
มาตรฐาน ค 3.1    อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
มาตรฐาน ค 3.3    ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)     
  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา

สาระที่ 4  พีชคณิต
มาตรฐาน  ค 4.1     เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
มาตรฐาน ค 4.2    ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical  model)    อื่น ๆแทนสถานการณ์ต่าง ๆ  ตลอดจนแปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา 


สาระที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1    เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
มาตรฐาน ค 5.2    ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้            
   อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค 5.3    ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา

สาระที่ 6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1  มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล   การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ  และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

หมายเหตุ    1.   การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพนั้น จะต้องให้มีความสมดุลระหว่างสาระด้านความรู้  ทักษะและกระบวนการ ควบคู่ไปกับคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ได้แก่  การทำงานอย่างมีระบบ    มีระเบียบ  มีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ  มีความเชื่อมั่นในตนเอง พร้อมทั้งตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์


งานที่ได้รับมอบหมาย
-อาทิตย์หน้าสอบสอน ในหน่วยขอตนเอง